วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 24 เวลา 11.30 - 15.30 น.
➤ เนื้อหาที่เรียน
😑บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2. การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
3. การวัดประเมินผล
4. ให้ความสนใจเด็ก
5. การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์
😉คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย
1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2. เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
3. ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างรอบด้านสนใจกิจกรรมต่างๆ หลายๆ อย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ 
4. อารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญของคนมีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. สุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู
6. คุณสมบัติส่วนตัวของครูสอนเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นคนที่มีรสนิยมดีการแต่งกายประณีต สวยงาม เหมาะสมกับวัย
👉การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดส่งเสริมความสร้างสรรค์
1. จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง (Brainstorming)
2. ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ
3. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้
4. เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน
5. ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลากหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
6. ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู้การคิด การกระทำอย่างสร้างสรรค์


👉 อาจารย์ให้ตอบคำถาม ภายในเวลาที่กำหนด 3 ข้อ 

ชิ้นที่ 1 สื่อจากธรรมชาติ

ชิ้นที่ 2 จงอธิบายลำดับขั้นพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์


ชิ้นที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวความคิดสร้างสรรค์

การประเมิน
ประเมินตนเอง  มีความรับผิดชอบ และสนใจในการเรียน เตรียมพร้อมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ส่งงานครบ มีความกระตือรือร้นในการเรียน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆเข้าเรียนในระบบครบทุกคน และทำงานส่งครบ มีความกระตือรือร้นในการเรียน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน และมีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเรียน


วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 17 เวลา 11.30 - 15.30 น.
➤ เนื้อหาที่เรียน
สมองกับความสำคัญ
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนทำงานยุคใหม่ คือ การปลดปล่อยพลังสมองออกมา
การเคลื่อนไหวกับการกพัฒนาสมอง
การบริหารสมองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง
     การทำงานของสมอง
 สมองเปรียบเสมือนแผงสวิซส์ฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกระโหลกศรีษะ เป็นไขมัน มีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอกบรรจุเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์ เรียกว่า นิวโรน
ความสำคัญของการพัฒนาสมอง
💜 เป็นรากฐานของการพัฒนาสมองทั้งปวง
💜 เป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน
💜 เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
💜 เป็นลงทุนที่คุ้มค่า
💜 สังคมต้องการคนดีและคนมีความคิดสร้างสรรค์ คนเก่งมีความสามารถฉลาด ทางอารมณ์
💜 มนุษย์ใช้ประโยชน์ของสมองเพียง 10%
💜 สมองได้ถูกกำหนดให้โง่
โครงสร้างและการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
     สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คือ สมองใหญ่มี 2 ซึก ได้แก่ สมองซีกซ้าย/สมองซีกขวาและมีการเชื่อมโยงกัน
1. สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ การจำ การเรียนรู้ ความฉลาดความคิดอย่างมีเหตุผล ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขาและใบหน้า
2. สมองส่วนข้าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกสมองซีกซ้ายรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางขวา สมองซึกขวารับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางซ้าย (จากมือ/แขน/เท้า)
3. สมองส่วนขมับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน และถ้าลึกเข้าไปจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว

คลื่อนไหวตามจินตนาการประกอบอุปกรณ์ (ริบบิ้น) 
แนวคิด
การทำกิจกรรมตามข้อตกลงร่วมกันเพื่อนๆได้โดยใช้อุปกรณ์
วัตถุประสงค์
1.ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
2.ปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง
3.ฝึกทักษะการสังเกต
กิจกรรม
1.เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์อย่างอิสระตามจินตนาการ ประกอบจังหวะหรือเสียงเพลง
2.เด็กจับกลุ่มๆละ 5-6 คนตามสีของริบบิ้น
3.เด็กนำริบบิ้นวางเป็นรูปทรงต่างๆอย่างอิสระตามจินตนาการ
สื่ออุปกรณ์
1.ริบบิ้น
2.เครื่องเคาะจังหวะ
3.เพลง
การประเมินผล
1.สังเกตจากการทำกิจกรรม
2.สังเกตจากการปฏิบัติตามข้อตกลง
ข้อเสนอแนะ
ให้เด็กจับคู่เคลื่อนไหวพร้อมๆกัน
การเช็คชื่อเข้าเรียน

👉 หลังจากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ 2 อย่างคือ ทำคลิปโยคะสำหรับเด็กและคลิปเพลงท่าเต้นสำหรับเด็ก

เพลงสำหรับเด็ก เพลง โอ้ทะเลแสนงาม

ท่าโยคะสำหรับเด็ก ท่างู



💘การประเมิน💘
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์ ถึงแม้จะมีอุปสรรค์ในการเรียนแต่ก็ไม่ย่อท้อในการเรียน เน็ตหลุดบ้าง สู้ค่ะ
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบทุกคน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆ ได้ดีและให้คำแนะนำในการทำสื่อดี

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗
    

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่ 10 เวลา 11.30 - 15.30 น.
➠ เนื้อหาที่เรียน

  ➤ อาจารย์ให้เตรียมกระดาษคนละ 2 แผ่น ในการทำกิจกรรม
งานชิ้นที่ 1 วาดภาพออกแบบความคิดสร้างสรรค์จากตัวเลข 1-9 
งานชิ้นที่ 2 ตัดกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตแล้วนำมาต่อกันตามจินตนาการ 

 เพลงสำหรับเด็ก
เพลง หนึ่งปีมี 12 เดือน 
       หนึ่งปีนั้นมี 12 เดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
 หนึ่งสัปดาห์นั้นมี 7วัน      อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
เพลงสวัสดียามเช้า
     ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า   อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
    กินอาหารของดีมีทั่ว          หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
    สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
     หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
การประเมิน
ประเมินตนเอง  มีความรับผิดชอบ และสนใจในการเรียน เตรียมพร้อมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆเข้าเรียนในระบบครบทุกคน และทำงานส่งครบ ทันเวลา มีความรับผิดชอบดี 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน และมีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเรียน


วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 3 เวลา 11.30 - 15.30 น.
➤เนื้อหาที่เรียน
     อาจารย์ได้มอบหมายงานคู่ให้หากิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและวิเคราะห์กิจกรรมดังกล่าวว่าสามารถประเมินได้อย่างไร

💗กิจกรรมวิทยาศาสตร์💗

ชื่อกิจกรรม    การแยกประเภทเมล็ดพืช
ความคิดรวบยอด  เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์  หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ

          1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ

          2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความ หยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัสดุอุปกรณ์
          1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง 
สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
          2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช

          3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)

การจัดกิจกรรม

       1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
          2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
          3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
          4. อภิปรายเกี่ยวกับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
          ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
          “นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
          นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”


การวัดผลประเมินผล


1. ความคิดริเริ่ม  สังเกตจาก การเล่นเมล็ดพืชอย่างอิสระโดยที่ครูไม่ต้องแนะนำใขในตอนแรก

2. ความคิดคล่องแคล่ว สังเกตจาก ความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม และการตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการที่ได้จากความคิดนั้น เช่น นักเรียนมีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน ให้เด็กตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการนั้น
3. ความคิดยืดหยุ่น  สังเกตจาก การคิดหาวิธีการแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายไม่ซ้ำกัน
4. ความคิดละเอียดลออ สังเกตจาก การตอบคำถาม การอธิบายและให้เหตุผลในการเลือกใช้วิธีการนั้น ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรม เช่น เพราะเหตุใดถึงเลือกวิธีการนั้น
💘การประเมิน💘
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบทุกคน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆ ได้ดีและให้คำแนะนำในการทำสื่อดี

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗
    
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7ึ
วันศุกร์ ที่ 27 เวลา 11.30 - 15.30 น.
💔กระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา💘
สืบเสาะหาความรู้มีวิธีการอย่างมีระบบในขณะปฏิบัติการย่อมต้องใช้ความคิด ควบคู่ไปด้วย ผลคือพัฒนาการทางสติปัญญาสามารถแก้ปัญหา ค้นหาและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ 
😠ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์😃
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนกประเภท
3. ทักษะการสื่อความหมาย
4. ทักษะการแสดงปริมาณ
5. ทักษะการทดลอง

   💖แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์💖
1. ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของเด็ก
2. ยอมรับความคิดและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่ที่เด็กคิด
3. แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
4. จัดโอกาสให้เด็กคิดและค้นพบโดยไม่ต้องมีการประเมินผล
5. ในการประเมินผลจะต้องให้เด็กได้ทราบเหตุและผลของการประเมินผลนั้น

💚การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์💚
1. การให้เด็กสังเกต สิ่งที่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนอนแล้วเดินออกมาบอกครูและครูไม่ควรคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำหรือให้เด็กฝึกสังเกต โดยถามว่า ตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร 
2. สร้างความชัดเจนและมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคน ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนเร็วหรือช้าให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและสนุก
3. สื่อสารวิธีการช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ เช่น บอกว่ากิจกรรมที่เด็กทำนั้นเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไรและห้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมแก่เด็ก
4. ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ โดยครูตั้งคำถาม เช่น ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตมันต้องการอะไรบ้างจะเริ่มคิดว่าต้นไม้ แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ประสบการณ์การทดลองทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจอยากเรียนรู้และร่วมกิจกรรม
5. สร้างความมั่นใจว่าตนเองมีค่า มีความสามรถและฝึกใหเด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น สังเกตว่าทำไมไม้จึงลอยน้ำ ทำไมเกลือจึงลอยน้ำ สร้างความรู้สึกอยากค้นพบและอยากหาเหตุผล
6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้อื่นๆ
7. สรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยวาดภาพ การบอกเล่า และการจัดแสดงผลงานเด็กมีบทบาทในการคิดริเริ่มวางแผนร่วมกับเพื่อน โดยครูจะให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อเด็กพบอุปสรรคและต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น
     ➤ ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ชื่อกิจกรรม : เป่าให้ลอย
ความคิดรวบยอด : อากาศต้องการที่อยู่ ฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างในจึงลอยได้
วัตถุประสงค์ 
     1. เด็กเป่าฟองสบู่ให้เป็นลูกโป่งแบบต่างๆ จากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้
     2. เด็กบอกชื่อฟองสบู่ที่เป่าให้แปลกๆแตกต่างจากคนอื่นได้
สื่อและอุปกรณ์
     สบู่เหลว 5 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 3 ลิตร หลอดกาแฟ ก้านผักบุ้งที่เป่าฟองสบู่
การจัดกิจกรรม
    1. เด็กและครูร่วมกันแนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์
    2. เด็กนำน้ำสบู่มาเป่าโดยครูใช้คำถาม ดังนี้
" จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเป่าลงไปในน้ำสบู่ ""ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร" "เด็กคิดว่าอะไรอยู่ในลูกโป่งฟองสบู่" "เด็กคิดว่าลูกโป่งฟองสบู่จะแตกหรือไม่" "เด็กๆทำให้ลูกโป่งอยู่นานๆได้อย่างไร" "เด็กเป่าฟองสบู่ได้กี่ลูก" "ลองเล่าเกี่ยวกับลูปโป่งฟองสบู่ให้ครูฟังซิ" "มีอะไรบ้างที่เป่าอากาศเข้าไปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น"
การวัดและประเมินผล
1. ความคิดริเริ่ม สังเกตจากการพลิกแพลงหาวิธีเป่าฟองสบู่และการบอกชื่อผลงานที่แปลกใหม่
2. ความคิดคล่องคล่อง สังเกตจากจำนวนปริมาณฟองสบู่ที่เป่า
3. ความคิดยืดหยุ่น สังเกตจากการตั้งชื่อฟองสบู่ที่มีความหลากหลาย
4. ความคิดละเอียดลออ สังเกตจากการขยายข้อความหรือประโยคจากการตอบคำถามให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สิ่งที่ได้รับ
1. ได้คิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก
2. ได้วางแผนในการทุกงานคู่ เพราะอยู่คนละที่ ต้องมีการมอบหมายแบ่งงานที่ดี
3. ได้รู้จักใช้ความคิดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่นการเรียนเข้าในแอพ ตอนแรกเข้าไม่ได้ เพื่อนๆทุกคนต่างช่วยกันพยายามหาวิธีจนสามารถใช้งานได้ปกติ
4. ต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการเรียนออนไลน์
5. ได้รู้จักแอพพลิเคชั่นในการเรียนที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
6. ได้ออกแบบกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
7. ได้ฝึกวิเคราะห์กิจกรรมที่เลือกมาว่าส่งเสริมและพัฒนาเด็กได้หรือไม่ และประเมินอย่างไร โดยสังเกตได้อย่างไร 
8. ได้แลกเปลี่ยนกิจกรรมที่มีความหลากหลาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง  มีความรับผิดชอบในการเรียน และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งทันเวลา
ประเมินเพื่อน   มีความรับผิดชอบและความพยายามในการเรียน แม้จะมีอุปสรรค์ในการเรียนบ้าง แต่ทุกคนก็ไม่ท้อถอย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอน กิจกรรมต่าง ๆ และหาวิธีการสอนที่หลากหลาย ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน


วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันศุกร์ ที่ 20 เวลา 11.30 - 15.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
   → เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด มหาวิทยาลัยจึงประกาศงดการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยให้อาจารย์ทุกท่านสอนในรูปแบบออนไลน์ 
       💛 วันนี้เราจึงเรียนออนไลน์กันโดยใช้ Application Zoom 



  ➤ อาจารย์ได้สอนเรื่องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กในรูปแบบที่หลากหลาย และได้มอบหมายงานทั้งหมด 4 ชิ้น เป็นงานคู่ และให้ส่งงานทางไลน์กลุ่ม ภายในเวลา 20.00 น.
งาน 4 ชิ้นมีดังต่อไปนี้
        1. แต่งนิทาน
        2. แต่งคำคล้องจอง
        3. ปริศนาคำทาย
        4. กิจกรรมส่งเสริมการฟัง





สิ่งที่ได้รับ
1. ได้คิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก
2. ได้วางแผนในการทุกงานคู่ เพราะอยู่คนละที่ ต้องมีการมอบหมายแบ่งงานที่ดี
3. ได้รู้จักใช้ความคิดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่นการเรียนเข้าในแอพ ตอนแรกเข้าไม่ได้ เพื่อนๆทุกคนต่างช่วยกันพยายามหาวิธีจนสามารถใช้งานได้ปกติ
4. ต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการเรียนออนไลน์
5. ได้รู้จักแอพพลิเคชั่นในการเรียนที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง  มีความรับผิดชอบในการเรียน และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งทันเวลา
ประเมินเพื่อน   มีความรับผิดชอบและความพยายามในการเรียน แม้จะมีอุปสรรค์ในการเรียนบ้าง แต่ทุกคนก็ไม่ท้อถอย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอน กิจกรรมต่าง ๆ และหาวิธีการสอนที่หลากหลาย ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันที่จันทร์ที่ 9 เวลา 11.30 - 15.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
→  อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เขียนประสบการณ์เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ที่ผ่านมา เราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำอะไรบ้าง
        1.วาดรูปประกอบเรื่องนิทาน
        2. ออกแบบการด์อวยพร
        3. แตกแต่งห้อง
        4. ทำสไลด์นำเสนองาน
        5. ทำสื่อการสอน
        6. ทำเกมการศึกษา
        7. ออกแบบป้านนิเทศ

→ อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ลากเส้นทำลวดลายตามใจชอบโดยใช้สีที่แตกต่างกัน

→ อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ต่อเติมสัญลักษณ์ที่อาจารย์ให้มาเป็นภาพที่สมบูรณ์ โดยต้องเป็นที่แปลกไปจากเดิม เช่น รถทรงสามเหลี่ยม รีโมททรงกลม

→ อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ตีเส้นตารางตาที่อาจารย์ได้พับไว้ แล้วให้นักศึกษาระบายสีลงในช่อง โดยใช้สีแค่ 3 สี

 😉 จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน ออกแบบท่าทางประกอบเพลง ปฐมวัยมาแล้ว โดยมีเนื้อร้องดังนี้ 
              "ปฐมวัยมาแล้ว มาแล้วปฐมวัยน้องพี่
         ไหน ไหน ไหน ปฐมวัยน้องพี่ ปฐมวัยน้องพี่ไม่มีร้าวราน 
              โลหิตสายเดียวกลมเกลียวกันไว้นานๆ 
 อย่าให้แยกแตกไปเป็นสายธาร อย่าให้แยกแตกไปเป็นสายธารา"


การประเมิน
ประเมินตนเอง : เรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำกิจกรรม เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี มีการสอดแทรกกิจกรรมในหว่างการเรียนการสอนทำให้ไม่น่าเบื่อ