วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7ึ
วันศุกร์ ที่ 27 เวลา 11.30 - 15.30 น.
💔กระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา💘
สืบเสาะหาความรู้มีวิธีการอย่างมีระบบในขณะปฏิบัติการย่อมต้องใช้ความคิด ควบคู่ไปด้วย ผลคือพัฒนาการทางสติปัญญาสามารถแก้ปัญหา ค้นหาและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ 
😠ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์😃
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนกประเภท
3. ทักษะการสื่อความหมาย
4. ทักษะการแสดงปริมาณ
5. ทักษะการทดลอง

   💖แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์💖
1. ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของเด็ก
2. ยอมรับความคิดและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่ที่เด็กคิด
3. แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
4. จัดโอกาสให้เด็กคิดและค้นพบโดยไม่ต้องมีการประเมินผล
5. ในการประเมินผลจะต้องให้เด็กได้ทราบเหตุและผลของการประเมินผลนั้น

💚การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์💚
1. การให้เด็กสังเกต สิ่งที่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนอนแล้วเดินออกมาบอกครูและครูไม่ควรคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำหรือให้เด็กฝึกสังเกต โดยถามว่า ตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร 
2. สร้างความชัดเจนและมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคน ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนเร็วหรือช้าให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและสนุก
3. สื่อสารวิธีการช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ เช่น บอกว่ากิจกรรมที่เด็กทำนั้นเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไรและห้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมแก่เด็ก
4. ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ โดยครูตั้งคำถาม เช่น ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตมันต้องการอะไรบ้างจะเริ่มคิดว่าต้นไม้ แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ประสบการณ์การทดลองทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจอยากเรียนรู้และร่วมกิจกรรม
5. สร้างความมั่นใจว่าตนเองมีค่า มีความสามรถและฝึกใหเด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น สังเกตว่าทำไมไม้จึงลอยน้ำ ทำไมเกลือจึงลอยน้ำ สร้างความรู้สึกอยากค้นพบและอยากหาเหตุผล
6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้อื่นๆ
7. สรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยวาดภาพ การบอกเล่า และการจัดแสดงผลงานเด็กมีบทบาทในการคิดริเริ่มวางแผนร่วมกับเพื่อน โดยครูจะให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อเด็กพบอุปสรรคและต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น
     ➤ ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ชื่อกิจกรรม : เป่าให้ลอย
ความคิดรวบยอด : อากาศต้องการที่อยู่ ฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างในจึงลอยได้
วัตถุประสงค์ 
     1. เด็กเป่าฟองสบู่ให้เป็นลูกโป่งแบบต่างๆ จากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้
     2. เด็กบอกชื่อฟองสบู่ที่เป่าให้แปลกๆแตกต่างจากคนอื่นได้
สื่อและอุปกรณ์
     สบู่เหลว 5 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 3 ลิตร หลอดกาแฟ ก้านผักบุ้งที่เป่าฟองสบู่
การจัดกิจกรรม
    1. เด็กและครูร่วมกันแนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์
    2. เด็กนำน้ำสบู่มาเป่าโดยครูใช้คำถาม ดังนี้
" จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเป่าลงไปในน้ำสบู่ ""ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร" "เด็กคิดว่าอะไรอยู่ในลูกโป่งฟองสบู่" "เด็กคิดว่าลูกโป่งฟองสบู่จะแตกหรือไม่" "เด็กๆทำให้ลูกโป่งอยู่นานๆได้อย่างไร" "เด็กเป่าฟองสบู่ได้กี่ลูก" "ลองเล่าเกี่ยวกับลูปโป่งฟองสบู่ให้ครูฟังซิ" "มีอะไรบ้างที่เป่าอากาศเข้าไปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น"
การวัดและประเมินผล
1. ความคิดริเริ่ม สังเกตจากการพลิกแพลงหาวิธีเป่าฟองสบู่และการบอกชื่อผลงานที่แปลกใหม่
2. ความคิดคล่องคล่อง สังเกตจากจำนวนปริมาณฟองสบู่ที่เป่า
3. ความคิดยืดหยุ่น สังเกตจากการตั้งชื่อฟองสบู่ที่มีความหลากหลาย
4. ความคิดละเอียดลออ สังเกตจากการขยายข้อความหรือประโยคจากการตอบคำถามให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สิ่งที่ได้รับ
1. ได้คิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก
2. ได้วางแผนในการทุกงานคู่ เพราะอยู่คนละที่ ต้องมีการมอบหมายแบ่งงานที่ดี
3. ได้รู้จักใช้ความคิดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่นการเรียนเข้าในแอพ ตอนแรกเข้าไม่ได้ เพื่อนๆทุกคนต่างช่วยกันพยายามหาวิธีจนสามารถใช้งานได้ปกติ
4. ต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการเรียนออนไลน์
5. ได้รู้จักแอพพลิเคชั่นในการเรียนที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
6. ได้ออกแบบกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
7. ได้ฝึกวิเคราะห์กิจกรรมที่เลือกมาว่าส่งเสริมและพัฒนาเด็กได้หรือไม่ และประเมินอย่างไร โดยสังเกตได้อย่างไร 
8. ได้แลกเปลี่ยนกิจกรรมที่มีความหลากหลาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง  มีความรับผิดชอบในการเรียน และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งทันเวลา
ประเมินเพื่อน   มีความรับผิดชอบและความพยายามในการเรียน แม้จะมีอุปสรรค์ในการเรียนบ้าง แต่ทุกคนก็ไม่ท้อถอย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการสอน กิจกรรมต่าง ๆ และหาวิธีการสอนที่หลากหลาย ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น