วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันที่จันทร์ที่ 17 เวลา 11.30 - 15.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
 ➤ อาจารย์ให้นักศึกษาคิดสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ที่มีความหลากหลายและสร้างสรรค์ นำเสนอและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปรับแก้สื่อให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
   💛 หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 3 คน เลือกสื่อ 1 อย่างในกลุ่มแล้วทำสื่อส่งอาจารย์

การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบทุกคน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆ ได้ดีและให้คำแนะนำในการทำสื่อดี


วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันที่จันทร์ที่ 3 เวลา 11.30 - 15.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
 ➤ อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ โดยที่อาจารย์แจกคือเชือกคนละ 1 เส้น อาจารย์เคาะจังหวะ หลังจากหยุดให้ทุกคนโยนเชือกขึ้นไปบนอากาศแล้วให้เชือกตกลงที่พื้น แล้วให้ทุกคนขดตัวตามลักษณะของเชือก , ต่อมาให้นักศึกษจับกลุ่ม 3 คน โดยเชือกของแต่ละคนต้องขนาดไม่เท่ากัน 


ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ระดมความคิดกันภายในกลุ่มนำเชือกของแต่ละคนมาต่อกันเป็นเรือ และออกแบบท่าทางการพายเรือ นำเสนออาจารย์



➤ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม นำเชือกของแต่ละคนมาต่อกันเป็นเรือ และร่วมกันเลือกแม่ย่านางประจำเรือ คิดออกแบบท่าทางการพายเรือ และแนะนำตัวแม่ย่านางระจำเรือ





อุปกรณ์ในการสอน
 ➤ เชือก   กิจกรรมเคลื่อนไหว ให้ขดตัวตามเชือก  สามารถนำมาสอนเรื่องน้ำหนัก หนัก - เบา ,การทิ้งตัว เมื่อเทียบกับกระดาษ
 ➤ กระดาษ กิจกรรมเคลื่อนไหว ให้ทำท่าทางการเคลื่อนไหวของกระดาษ 
สาระการเรียนรู้เรื่องยานพาหนะ หน่วยเรือ  เนื้อหา เรือ แม่ย่านางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเรือ วัฒนธรรมประเพณี เพลงที่ใช้ในการแห่เรือ ภาษา การออกแบบจัดที่นั่งในเรือ สุนทรียภาพการตกแต่งชุด
เด็กได้ทักษะการออกแบบ การคิด การทำงานร่วมกับผู้อื่น 


➤ จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้นักษาเขียนประโยชน์ของปากกา 5 นาที เพื่อวัดทักษะความคิดคล่องแคล่ว
➤ กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้เขียนเลข 1 - 9 ลงในกระดาษแล้วต่อเติมเป็นภาพตามจินตนาการ
อาจารย์จัดกิจกรรม สาระคณิตศาสตร์  โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก

😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม ส่งงานครบ ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีความสามัคคีกัน

ประเมินอาจารย์  : อธิบายเข้าใจ มีกิจกรรมสอดแทกระหว่างการสอนทำให้เข้าใจมากขึ้น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 
วันที่จันทร์ที่ 27 เวลา 12.30 - 15.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
ความหมายของการคิด
      ➤ เป็นกระบวนการทางสมองที่เกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น ทำให้จิตและสมองนำข้อมูลที่มีอยู่มาหาวิธีการเพื่อที่จะแก้ปัญหานั้น


 ความสำคัญของการคิด 
การคิดนำไปสู่การกระทำและการเปลี่ยนแปลง
การคิดทำให้ได้วิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา
การคิดที่ถูกต้อง ช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหา ลดการใช้ทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่การป้องกันและแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
การคิดที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหาและก่อให้เกิดความสูญเสีย

😀😀 องค์ประกอบของความคิด 😀😀

           สิ่งเร้า   ➔      จิต / สมอง       ➔   ผลของการคิด 
   สถานการณ์ที่เป็นปัญหา                  ↑
   ความต้องการ                        ข้อมูลความรู้ / เนื้อหา            คำตอบ,บทสรุป
   ความสงสัย                                                                      แผนปฏิบัติงาน 
                                                                                         ความรู้ใหม่ๆ 

😧 ระดับขั้นของการคิด 😁
1. ระดับขั้นพื้นฐาน เรียกว่า ทักษะการคิด
    2. ระดับขั้นกลาง     เรียกว่า ลักษณะการคิด
    3. ระดับขั้นสูง         เรียกว่า กระบวนการคิด
➤ทักษะการคิด ในรูปแบบต่างๆ เช่น คิดสร้างสรรค์ คิดเชิงระบบ คิดแก้ปัญหา คิดเชิงกลยุทธ์
➤ลักษณะการคิด
     💧การคิดถูกทาง (คิดถึงประโยชน์ส่วรรวมมากกว่าส่วนตน)
     💧การคิดกว้าง  (คิดถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง/จุดเด่น/จุดด้อย)
     💧การคิดลึกซึ้ง (วิเคราะห์องค์ประกอบหลักและย่อยที่เชื่อมโยงกันได้)
     💧การคิดไกล (นำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ทำนายความสัมพันธ์ได้)
➤กระบวนการคิด 
1. ค้นพบปัญหา 2.เตรียมการและรวบรวมข้อมูล  3. วิเคราะห์  4. ฟูมฟักความคิด   
5. ความคิดกระจ่าง  6. ทดสอบความคิด
    ความหมายของความคิดสร้างสรรค์  
           ➤  ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ และความคิดหลายทิศทาง คิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม ความคิดละเอียดประณีต

       คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ 
  💛 คุณค่าต่อตนเอง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
  💛 คุณค่าต่อสังคม  ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น
  💛 ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
  💛 ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  💛 ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

1. ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน เช่น ด้านถ้อยคำ การโยงความสัมพันธ์ การแสดงออกทางการคิด

2. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดที่แปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา หรือความคิดที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น

3. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภท หรือแบบของความคิด แบ่งออกเป็น
     - ความคิดยืดหยุ่น ที่เกิดขึ้นทันที เป็นความสามารถในการคิดอย่างอิสระให้ได้คำตอบหลายแนวทางในขณะที่คนทั่วไปจะคิดได้แนวทางเดียว
     - ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง เป็นความสามารถในการดัดแปลง ของสิ่งเดียวให้เกิดประโยชน์หลายด้าน
4. ความคิดละเอียดลออ เป็นลักษณะของความพยายามในการใช้ความคิด และประสานความคิดต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
   
   ➤ กิลฟอร์ด ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1.ความคิดรวมหรือความคิดเอกนัย
2.ความคิดกระจายหรือความคิดอเนกนัย
   โครงสร้างความคิด กิลฟอร์ด แบ่ง 3 มิติ คือ
      มิติที่ 1 เนื้อหา 4 ลักษณะ  คือ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา
      มิติที่ 2 วิธีการคิด  
1. การรูการเข้าใจ        2. การจำ  3. การคิดแบบอเนกนัยหรือความคิดกระจาย  
4. การคิดแบบเอกนัย   5. การประเมินค่า 
      มิติที่ 3 ผลของการคิด 
1. หน่วย (Units = S)  2. จำพวก (Classes = R )  3. ความสัมพันธ์ (Relations = R )
4.ระบบ  (Systems = S)  5. การแปลงรูป (Transformation = T )  6. การประยุกต์ (Impication = I)

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
   1. ช่วยให้พบวิธีการแก้ปัญหาในวิถีทางที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน
   2. ก่อให้เกิดนวักรรม หรือสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง
   3. ช่วยให้พบหรือได้สิ่งที่ดีกว่าเดิม

➤➤ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ให้สมาชิกภายในกลุ่มระดมความคิดหาเกณฑ์ในการเรียงลำดับ โดยมีกติกา คือ ต้องเป็นระดับและร่างกายติดกัน จากนั้นให้นักศึกษารวมกัน 2 กลุ่ม แล้วต่อเป็นเรือ



💚 ทำให้ได้ฝึกทักษะการคิดจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย 
💚 ฝึกการระดมสมอง
💚 ฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น 
เพิ่มเติม
เพียเจย์ นำช่วงวัยมาจับกับการทำงานของสมอง ➨ เกิดเป็นขั้นพัฒนาการตามช่วงวัย ความรู้ที่ได้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่าง
ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนไม่คุยกัน 
ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมสอดแทรกเนื้อหาทำให้การสอนไม่น่าเบื่อ